top of page
Search
Writer's picturethalassomer

ค่า SPF ยิ่งสูง ยิ่งดี จริงหรือ ? ความเชื่อผิดๆเกี่ยวกับค่า SPF ในครีมกันแดด

Updated: Sep 15, 2023




ว่าด้วยเรื่องค่า SPF เพราะมีลูกค้าหลายท่านถามกันเยอะเรื่องค่า SPF ของกันแดดที่เราขาย ทุกแบรนด์ไม่มีอันไหน ค่า SPF สูงๆเลย แล้วใช้ออกแดดจัด เล่นเซิร์ฟ เล่นกีฬาทางน้ำได้ยังไง

ค่า SPF เป็นปัจจัยหนึ่งที่ใช้ในการพิจารณาเลือกครีมกันแดด แต่ไม่ได้หมายความว่าเราต้องเลือกครีมกันแดดที่มี ค่า SPF สูงที่สุดในท้องตลาดเสมอไปค่ะ พวกเราเคยโดนหลอกให้ผิวไหม้เพราะค่า SPF กันมามาก กฏหมายไทยห้ามขายกันแดดที่มีค่า SPF เกิน50 เพราะยิ่งมากยิ่งเป็นอันตราย ตอนนั้นพวกเราถึงขั้นไปตามหาพวกที่ค่า SPF เป็นร้อยๆ มาจากต่างประเทศกันเลย แต่สุดท้ายก็ไม่ช่วยอะไร เพราะขาดความรู้ความเข้าใจ


SPF นั้นย่อมาจาก Sunburn Protection Factor เป็นค่าที่บอกความสามารถของครีมกันแดดในการป้องกันการไหม้แดงของผิว ซึ่งเกิดจาก รังสียูวีบี (UVB) โดยปกติยิ่งค่าสูงจะยิ่งทําให้เราอยู่กลางแดดได้นานมากขึ้นก่อนจะมีอาการผิวไหม้แดงค่ะ


  • ซึ่งถามว่าจำเป็นมั้ยว่าต้องเลือกค่าSPF สูงๆถึงจะกันผิวburn ได้ดี ถ้าสำหรับผู้ที่ต้องออกแดดจัด ใช้ค่า SPF30 ขึ้นไปก็เพียงพอแล้ว เพราะว่า จากผลการทดลองใน lab พบว่า คุณสมบัติในการดูดซับรังสีของ spf 30 กับ 45 แทบไม่แตกต่างกันเลย


แต่สิ่งสำคัญที่เราอาจจะลืมกันไปเลยคือ ทาเเล้วมันหลุดไปรึเปล่าระหว่างออกแดด โดนน้ำละลายหายไปหมดเเล้วรึเปล่า หรือทาหนามากพอรึเปล่า อุปสรรคสำคัญของกันแดดแบบ chemical เลยคือ ซึมเข้าผิว เเละต้องทาก่อนออกแดด 20 นาที เพื่อให้ทำปฏิกิริยากับผิวก่อน เเล้วยังละลายน้ำหลุดออกได้ง่าย ดังนั้น เอาเข้าจริงๆถึงจะใช้ ค่า SPF สูงๆไปก็หลุดหมดไม่มีประโยชน์อยู่ดี


เราควรหันมาใช้ กันแดดแบบ physical ที่ใช้ Zinc oxide และ Titanium oxide ทำหน้าที่เป็นหน้ากาก เคลือบผิว สะท้อนรังสี UV ทาเเล้ว ไม่ต้องรอให้ซึมเข้าผิว ไม่มีสารเคมีซึมเข้ากระแสเลือดแล้ว ยังสามารถออกแดดได้เลยทันที ไม่ต้องรอให้ซึม ส่วนใหญ่ก็จะมีประสิทธิภาพกันน้ำได้ดีมากด้วย แทบไม่ละลายน้ำเลย บางแบรนด์ก็ติดทนนานกว่า 4 ชม. แต่มีข้อเสียคือทาเเล้วจะว่อก ขาวๆ หน่อยนึง เพราะว่า Zinc oxide มันก็คือแร่แป้งตามธรรมชาติ


อย่างไรก็ตาม การเลือกครีมกันแดดที่ดีไม่ได้ขึ้นอยู่กับ ค่า SPF เพียงอย่างเดียว ยังมีปัจจัยอื่นที่สําคัญดังนี้ค่ะ อย่ามองข้ามค่า PA+ ควรเลือกครีมกันแดดที่ป้องกัน รังสียูวีเอ (UVA) ได้ด้วย เพราะ UVA เป็นต้นเหตุของความเหี่ยวย่นของผิว รวมถึงมะเร็งผิวหนังบางชนิด โดยดูจากเครื่องหมาย “PA+” ยิ่งจํานวนเครื่องหมาย + มาก ก็ยิ่งป้องกันมากขึ้น หรือหากเป็นครีมกันแดดที่มาจากบางประเทศจะใช้รูปดาวตั้งแต่ 1-4 ดาวแสดงถึงการป้องกันที่มากขึ้นตามลําดับ เช่น PA+ สามารถกันรังสี UVA ได้ 2-3 เท่า , PA+++ ก็จะสามารถกันรังสี UVA ได้ถึง 8-15 เท่า เป็นต้น


มาพูดถึงหลักการของ Surf Zinc แบบ Stick หรือ Zinc paste ที่มีส่วนผสมของพวก wax เพิ่ม (ส่วนมากจะเป็น bee wax และส่วนผสมจากธรรมชาติ) เพื่อให้พอกเป็นชั้นหนาๆขึ้นได้อีก ยิ่งทาหนา ทาให้ทึบ ก็จะยิ่งกันได้ดี ถ้าพอกทั้งหน้าก็คงหนักและเหนียวหน้ามากๆ ดังนั้นจึงเป็นที่มาที่ surfer จะป้าย Zinc หนาแค่ส่วนที่ไหม้ง่าย อย่าง จมูก หน้าผาก และ โหนกแก้มค่ะ


ขอบคุณบทความบางส่วนจาก

พญ.สินิชญาน์ สหวัฒน์วงศ์ ภาคอายุรศาสตร์ หน่วยโรคผิวหนัง คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล



1,100 views0 comments

Comments


bottom of page